การโซโลในแนวแจ๊ส
Improvisation หมายถึง การเล่นทำนองออกมาใหม่อย่างสดๆ (คล้ายกับการด้นในดนตรีไทย) คล้ายกับการเล่าเรื่องหรือเล่านิทานโดยการเรียบเรียงด้วยภาษาของผู้เล่นเอง โดยผู้เล่นนั้น นอกจากจะต้องมีทั้งทักษะและความชำนาญทางเทคนิคเฉพาะของดนตรีในสไตล์นั้นๆแล้ว จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับภาษา ตลอดจนมีความคุ้นเคยกับธรรมเนียมต่างๆและแฟชั่นของดนตรีแนวนั้นเป็นอย่างดีด้วย การโซโล่นั้นบางครั้งอาจจะไม่ใช่การเล่นในแบบด้นทั้งหมด แต่มีการเตรียมตัวล่วงหน้าไว้เป็นอย่างดี หรือมีการบันทึกเป็นโน้ตไว้เพื่อช่วยในการซ้อมก็มีการโซโล่ในแนวแจ๊สนั้นผู้เล่นจะต้อง:
1. มีประสบการณ์ในการฟังเพลงแจ๊สมานานพอเพียง รู้จักเพลงตั้งแต่ New Orleans, Swing, Bebop และ Modern Jazz เป็นอย่างดี และถ้ามีประสบการณ์ในการฟังเพลงในแนวอื่นๆด้วยก็ดี2. มีทักษะความชำนาญในเครื่องดนตรีที่ตนเล่นอยู่ สามารถเล่น Scales และคอร์ดต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว เพียงพอสำหรับที่จะถ่ายทอดความคิดออกมาอย่างไม่สะดุด จากสมองแล้วผ่านทางเครื่องดนตรีออกมา โดยไม่ปล่อยให้นิ้วมือเล่นเอง
3. ต้องคุ้นเคยกับทำนองและลีลาของแจ๊ส (Jazz Lines) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนว Blues และ Swing ซึ่งเป็นรากฐานของเพลงแจ๊ส
4. รู้จักเพลงที่เล่นเป็นอย่างดีในเรื่องของทำนอง คอร์ด และ Scales ที่จะใช้ในการโซโล่ และสามารถเล่นได้โดยไม่ต้องดูโน้ต
5. การโซโล่นั้นต้องเล่นอย่างมีวิญญาณ ปราศจากความกดดันทั้งปวง ความจริงใจใน Ideas หรือความคิดของตัวเองนั้น จะทำให้การโซโล่มีความชัดเจนและหนักแน่น ไม่คลุมเครือหรือฉาบฉวย
การโซโล่ที่ดีในแนวแจ๊ส
1. การวางประโยค (Phrasing) ที่ดี2. ประโยค ถาม-ตอบ (Question-Response)
3. การใช้และพัฒนา Motifs หรือ Ideas
4. การเปรียบเทียบระหว่างประโยคง่ายกับประโยคซับซ้อน (Simplicity & Complexity)
5. ช่วง Climax ของการโซโล่
6. ประโยคเริ่ม(Opening Statement)และประโยคจบ(Closing Statement) ที่ดี
7. การต่อ (Transition) ที่ดีกับ Chorus ถัดไป
8. ความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
9. การ “พูด” ในสิ่งที่มีความหมาย น่าสนใจ ตื่นเต้น มีรสชาติ
10. สไตล์การเล่นที่เหมาะสมกับเพลงนั้นๆ
11. Sound และ Technique ที่ดี
12. Space หรือช่วงที่เงียบ หรือหยุดระหว่างประโยค (Breathing Room)
13. การสร้างและคลายความเครียด (Tension-Release)
14. “ภาษา” (Vocabulary หรือ Licks) ที่ดีและเหมาะสม
15. ความหลากหลายในการเล่นจังหวะในตัวโน้ต (Rhythmic Variations) และค่าของตัวโน้ต(Note Values)
16. Dynamics หรือความดัง-เบา
17. การพัฒนาแนวความคิด (Development of Ideas) ที่ชัดเจนหนักแน่น
18. การเปลี่ยนเรื่องหรือสไตล์การพูด หรือเปลี่ยน Mood หรือเปลี่ยน Momentum เมื่อเกิด Chorus ใหม่
19. การออกสำเนียง (Articulation) ของตัวโน้ต และการย้ายตำแหน่งของโน้ตที่มีการใส่ Accent ให้
20. การเปลี่ยนทาง (Direction Change) ภายในประโยค
21. การใช้ทั้ง Chord Tone และ Tensions
22. การใช้คู่เสียง (Intervals) ที่มีสีสันต่างๆ
23. การนำประโยคหรือวลีสั้นๆของเพลงอื่นที่รู้จักกันดีมาใช้ โดยการแทรกเข้าไปในช่วงใดก็ได้ของการโซโล่ โดยจะมีกี่ครั้งก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น