ประเภทของเอฟเฟกกีตาร์
แบ่งเป็น 6Dynamics ไดนามิค
คือการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางความดังของคลื่นเสียง เช่นClean boost/Volume pedal ใช้ช่วยเร่งความดังขณะโชว์หรือ โซโล่ Solo
Time-based
Delay/Echo ดีเลย์ และ แอ็คโค่ จะผลิตเสียงสะท้อน echo effect ด้วยการป้อนสัญญาณเครื่องเล่นเดิมซ้ำ ไปที่แอมป์ โดยสัญญาณไฟฟ้า electrical signal จะหน่วงเวลาจากต้นฉบับเล็กน้อย ผลที่เกิดขึ้นอาจเป็นแบบ แอ็คโค่เดียวหรือเรียกว่า “สแล็ป slap” หรือ “สแล็ปแบ็ค slapback” ซึ่งคือแอ็คโค่หลายทีนั่นเอง ใช้กับกีตาร์ตัวนำ lead guitar หรือเสียงร้อง เพื่อความไพเราะ ของหางเสียงReverb รีเวิร์บหรือการสร้างเสียงก้อง เป็นการจำลองเสียงให้เหมือนการผลิตใน ห้องสะท้อน echo ด้วยการสร้างเสียงสะท้อนมากมายที่ค่อยๆ ลดความดังลงเรื่อยๆ หรือสร้างความก้องกังวานซึ่งเป็นการเสริมไม่ให้เสียงห้วนฟังดูแห้งจนเกินไป โดยเป็นเทคนิคในการทำให้เสียงหวาน หรือ ฉ่ำขึ้นนั่นเอง
Tone โทน น้ำเสียง
การเปลี่ยนให้น้ำเสียงเพี้ยนไปจากธรรมชาติเดิม เช่นDistortion and Overdrive เป็นการ บิดเบือนน้ำเสียงของเครื่องด้วยการเพิ่ม ” น้ำเสียงเกินจริง overtones” เพื่อสร้างสรรค์ เสียงที่ “อบอุ่น warm” สร้างเสียง ” สกปรก dirty” หรือ ” เถื่อน gritty” ซึ่งอาศัยหลักของการเร่งกำลังขับของเครื่องเล่นจนถูก “ตัดยอด clipping ” คลื่นเสียง บีบสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องเล่นที่ออกมาแรงเกินจนเกิดเสียง distortion
Filter ฟิลเตอร์ การกรองความถี่เสียง
Equalizer อีควอไลเซอร์ อย่างเครื่องเล่น สเตอริโอ Stereos มักจะมี อีควอไลเซอร์ เพื่อปรับเสียง ทุ้ม bass และ แหลม treble ช่างเสียง Audio engineers จะอาศัยความชำนาญในการใช้ อีควอไลเซอร์ เพื่อกำจัดเสียงที่ไม่ต้องการ โดยทำให้เครื่องเล่น และเสียงร้องโดดเด่นขึ้น และยกระดับน้ำเสียงของเครื่องเล่นที่ต้องการนำเสนอTalk box ทอล์คบ็อกซ์ หรือ เสียงหุ่นยนต์ โฟน ด้วยวิธีนี้กีตาร์จึงฟังเหมือนพูดได้ หรืออาจไปใช้ทำเสียงตัวประหลาดอื่นๆได้เช่นกัน
Wah-wah แป้นวาว-วาว จะสร้างเสียงวอ vowel เหมือนเสียงที่ถูกกลับแถบความถี่ frequency spectrum ตัวอย่างเช่นการดังของมันที่แต่ละจุดแยกความถี่ separate frequency หรือเรียกกันว่า เส้นแถบ spectral glide. อุปกรณ์นี้ทำงานด้วยการควบคุมจากเท้าในการโยกเพื่อ เปิดปิด ตัวต้านทานปรับค่าได้ potentiometer
Pitch/Frequency การแต่งความถี่ที่กำหนด
Chorus คอรัส เป็นการล้อเลียน คอรัสเอ็ฟเฟค จะแบ่งสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งจากเครื่องเล่นไปแอมป์ โดยเพิ่มความถี่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย slight frequency variations หรือ “ไวบราโต้ vibrato” ในส่วนของสัญญาณนั้น โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนที่เหลือ ในการปรับตั้งใช้งาน คอรัสเอ็ฟเฟค สามารถผลิตเสียง ”เวิ้งว้าง spacey” จึงเหมาะกับการใช้เพิ่มมิติบางอย่างให้กับเสียงนอกจากนั้นยังมี เอ็ฟเฟ็คในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันอีกอีกเช่น Flanger, Phase shifter Pitch shifter and Harmonizer, Ring modulator, Vibrato และ Harmonic Exciter
Feedback/Sustain การป้อนสัญญาณกลับ และ การยืดหางเสียง
Audio feedback การป้อนสัญญาณเสียงกลับ จะเกิดผลเหมือนเราเอาไมโครโฟนไปรับเสียงของมันเองที่เกิดจากการขยายผ่าน แอมป์ ทำให้เกิดสัญญาณขยายวนหรือ “ฟีดแบ็คลูป feedback loop” ซึ่งเป็นเทคนิคที่เริ่มต้นมาจากการเล่นกีตาร์ไฟฟ้า ที่หันกีตาร์เข้าหาตู้แอมป์ให้เกิดเสียงหอนเพื่อลากหางเสียงให้ยาวซึ่ง ควบคุมการหอนและน้ำเสียงได้ค่อนข้างลำบากhttp://numneungguitar.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น