การเลือกใช้ไม้สำหรับกีตาร์
อรุณสวัสดิ์ยามเช้าของผม หรือยามบ่ายของท่านผู้อ่านทางบ้านนะครับ วันนี้เราเข้าสู่เรื่องที่ว่าด้วยไม้ๆ กันหน่อย ฮ๋าๆ ตอนแรกที่เล่นกีตาร์ใหม่ๆ ก็เจอมาเยอะเวลาไปเดินซื้อกีตาร์กับเพื่อนหรือเวลาไปเดินเลือกหยิบกีตาร์มาดู เจ้าของร้านเขาก็จะพล่าม สรรพคุณ เอ้ย ส่วนประกอบที่ใช้ทำกีตาร์ตัวนั้นๆ ผมทำไงหรอ ก็หน้าตรงคอตั้ง อืมๆ พยักหัวไปตามแรงลมฮ๋าๆ นั่นแหละนะ แต่วันนี้ผมจะมาชี้แจงคนที่เคยเป็นแบบผมนะฮะ มาดูไม้แล้วดูเป็นไปคุยกับเจ้าของร้าน หรือจะเถียงคนขายก็ได้ เอ้ยยยย นี่มันขี้โม้ ใช้ไม่คนละอย่างนี่หว่า!!! 5555 จากไม้หลายชนิด ที่นิยมมากที่สุดคือ RoseWood (พวกคอดำส่วนใหญ่) และ Maple ( คอขาวทั้งหลายนั่นแหละ) มาดูเลยย!!ไม้ที่นิยมใช้
ส่วนหัว
หัวกีตาร์เป็นไม้สปรูซ นับว่าดีเลยส่วนคอ
คอกีตาร์ คอกีตาร์ควรจะทำมาจากไม้ มะฮอกกานี หรือไม้ ซีดา หลัการที่สำคํญที่สุดคือคอกีตาร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกหรือปริของเนื้อไม้Fingerboard ไม้ที่นิยมใช้จะเป็นไม้ โรสวูด หรือไม้ อีโบนี ซึ่งมีเนื้อไม่แข็งเกินไป
ส่วนลำตัว
ด้านหน้า(top) ควรทำมาจากไม้ อัลพาย สปรูซ (alpine spruce) ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ควรเป็นไม้โรสวูด(rosewood) และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดีสะพานสาย (bridge) เป็นตัวที่ยึดสายให้ติดกับ body มักทำมาจากไม้โรสวูดหรือไม้อีโบนี
ลายไม้
อ้ากกกก มาดูลายไม้กันเถอะ จะได้รู้้ๆไปเลยว่าลายไม้แบบนี้ชื่อว่าอะไร อิสๆหมายเหตุ: ข้อมูลทั้งหมดแปลมาจากเว็ปไซท์ www.taylorguitars.com
1. มะฮอกกานี่เขตร้อนชื้น (Tropical Mahagony)
มะฮอกกานี่เป็นไม้ที่ให้เสียงที่ใช้เป็นมาตรฐานของเสียงกีต้าร์ เรามักจะอธิบายเสียงของไม้พันธุ์อื่นๆโดยเทียบจากเสียงจากไม้พันธุ์นี้ ลักษณะเด่นของไม้พันธุ์นี้คือให้เสียงที่ความถี่อยู่ในย่านกลาง กีต้าร์อะคูลติกโดยทั่วไปมักจะให้เสียงที่ความถี่อยู่ในย่านนี้ แต่ไม้มะฮอกกานีจะให้ความโดดเด่นของเสียงที่โดดเด่นในย่านนี้เป็นพิเศษ ซึ่งจะเป็นซุ้มเสียงที่หนา มีชีวิตชีวาและฟังสบาย ไม่ว่าผู้เล่นกำลังเล่นอยู่บนส่วนไหนของคอกีต้าร์ ลำตัวกีต้าร์ก็จะสั่นพ้องไปด้วยเสมอ ความถี่ย่านกลางนี้ยังช่วยให้เกิดเสียงสูงคู่แปดผสมไปด้วยทำให้เสียงฟังดูกว้างขึ้น และยิ่งทวีความมีชีวิตชีวาเข้าไปด้วย ด้วยเหตุนี้ไม้มะฮอกกานี่จึงเป็นไม้ต้นแบบของกีต้าร์ และในสมัยก่อนถูกใช้สำหรับทำการบันทึกเสียงเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังสามารถเล่นได้กับดนตรีหลายหลายแนวตั้งแต่บลูส์, โฟรค หรือเพลงช้า
เหมาะสำหรับ: ผู้เล่นในหลากหลายสไตล์ คนทีชอบเสียงที่มีความสมดุลสูง มีพลวัต(หนัก-เบา)ที่ดี และต้องการเสียงผสมของคู่แปด ผู้เล่นในสไตล์บลูส์และแนวพื้นฐานอื่นๆมักจะให้เสียงตอบรับที่ดีสำหรับเสียงความถี่ย่านกลางของมะฮอกกานี่นี้ สำหรับกีต้าร์มะฮอกกานี่ที่ตัวเล็กอาจจะเหมาะกับผู้เล่นแนวฟิงเกอร์สไตล์ ในขณะที่ผู้เล่นที่ชอบการตีคอร์ดอาจจะเหมาะกับกีต้าร์ทรงเดรทนอท (Dreadnought) นอกจากนี้ความถี่ย่านกลางของมะฮอกกะนี่จะทำให้ผู้เล่นที่ชอบเล่นเสียงเข้มๆฟังดูเข้มขึ้น ในขณะที่ผู้ที่ชอบเล่นเสียงใสๆ จะเล่นออกมาใสน้อยลงเล็กน้อย
2. อินเดียน โรสวูด (Indian Rosewood)
หนึ่งในไม้ที่นิยมใช้ทำกีต้าร์ตลอดกาล ไม้โรสวูดมีลักษณะเสียงพื้นฐานของไม้มะฮอกกานี่ซึ่งโดดเด่นในความถี่ย่านกลาง แต่ขยายออกไปทั้งในย่านสูงและย่านต่ำ ไม้โรสวูดให้เสียงที่ลึกขึ้นในย่านต่ำ และใสขึ้นในย่านสูง ถ้าเรามองดูกราฟความถี่ของเสียงจะพบว่า เสียงจากไม้โรสวูดมีความถี่ย่านกลางที่น้อยกว่ามะฮอกกานี่ อย่างไรก็ตามไม้โรสวูดนี้ก็เป็นตำนานไม่แพ้มะฮอกกานี่ และโรสวูดนี้ถือว่าเป็นเสาหลักสำหรับดนตรีพื้นเมืองในหลายแถบเช่นอเมริกาตอนกลาง ต้นโรสวูดเป็นต้นไม้ที่เติบโตได้ง่ายเช่นเดียวกับต้นมะฮอกกานี่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้คนนิยมใช้กัน ผู้เล่นสามารถเกาหรือตีคอร์ดได้อย่างไม่ต้องกังวลใดๆ
เหมาะสำหรับ: เกือบทุกการใช้งาน ถ้าคุณชอบเสียงกีต้าร์ที่มีเสียงเบสต่ำหน่อยและเสียงสูงที่ใส โรสวูดคือตัวเลือกของคุณ คนที่ชอบเล่นเสียงเข้มๆดุดันจะได้ประโยชน์จากตรงส่วนนี้ด้วย ถ้าคุณกำลังมองหากีต้าร์ที่ให้เสียงตามแบบฉบับดังเดิม กีต้าร์โรสวูดทรงเดรทนอท(Dreadnought)หรือแกรนออดิทอเรี่ยม(Grand Auditorium) จะเป็นเพื่อนที่ดีของคุณ
3. แซพีลี่ (Sapele)
ไม้ทางเลือกที่เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตของเทลเลอร์ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา บางครั้งผู้คนมักจะเข้าใจผิดว่าไม้พันธุ์นี้คือแอฟริกามะฮอกกานี่ (African mahogany) เพราะว่ามีความคล้ายคลึงกับไม้คายา(Khaya)ในทางตะวันตกของแอฟริกาซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าแอฟริกามะฮอกกานี่ ไม้แซพีลี่เป็นไม้ที่อนุรักษ์ได้ง่าย เติบโตรวดเร็ว และให้เสียงเหมือนกับมะฮอกกานี่ทุกประการ กอปรกับความมีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เราสามารถใช้ไม้นี้ในการผลิตกีต้าร์ได้อีกเป็นระยะเวลานาน
เหมาะสำหรับ: ผู้เล่นทุกสไตล์เช่นเดียวกับไม้โอวางโคล(ovangkol) ความเป็นอเนกประสงค์ของเสียงจากไม้นี้ทำให้เสียงจากไม้นี้มีความสม่ำเสมอ สมดุล หมายสำหรับการเล่นในหลายรูปแบบตั้งแต่เกาจนถึงตีคอร์ด
4. เมเปิลใบใหญ่ (Big Leaf Maple)
เมเปิลเป็นไม้ที่แข็งและมีความหนาแน่นสูง เสียงจากไม้เมเปิลนั้นเทียบได้กับแสงเลเซอร์ ในแง่ที่มีความโฟกัสสูงมากและโดดเด่นในโครงสร้างพื้นฐาน และขึ้นชื่อในเรื่องความใส เสียงจากไม้เมเปิลมีเสียงคู่แปดน้อยกว่าไม้ที่ความหนาแน่นปานกลางพันธุ์อื่นๆ ทำให้เสียงออกมากระชับขึ้น นิยมใช้ในการแสดงสดหรือในการแสดงที่ต้องเล่นเป็นวง โดยเฉพาะกับเบส กลองและกีต้าร์ไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเอาไปมิกส์ต่อได้ง่าย และทำให้ได้ยินเสียงอะคูสติกกีต้าร์ นอกจากนั้นยังลดปัญหาการสะท้อนกลับของเสียง(feedback) ไม้นี้มีเสียงมีเสียงในย่านกลางอยู่บ้าง และเสียงจะแหลมกว่าโรสวูดมาก
5. โอวางคอล (Ovangkol)
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เทลเลอร์ได้นำเสนอไม้ทำกีต้าร์ชนิดใหม่ที่ง่ายแก่การอนุรักษ์ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อโอวางคอล เป็นไม้ที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกันกับโรสวูด ไม้พันธุ์ให้เสียงที่ดีโดยเป็นเสียงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเสียงจากโรสวูดหลายประการ กอปรกับเสียงความถี่ย่านกลางที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยและความที่ย่านสูงที่ไม่ใสเท่าเมเปิล เนื่องจากไม้พันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันน้อยกว่าโรสวูด โอวางคอลจึงไม่ได้รับความนิยมอยู่เป็นเวลาหลายปี ทำให้เป็นที่ท้าทายในหมู่แฟนๆของเทเลอร์ที่จะทดลองใช้กัน
เหมาะสำหรับ: หลากหลายการใช้งาน ผู้เล่นที่อาจจะยังไม่มีวิธีการเล่นเฉพาะตัว หรือเล่นได้ทุกแนวที่กำลังหากีต้าร์ที่ใช้เล่นได้หลากหลาย ไม้ชนิดนี้จะเหมาะกับกีต้าร์ในหลากหลายทรงอีกด้วย
http://puntabs.blogspot.com/2013/06/1.html ขอขอบคุณ
บ๊ยยยบายวันนี้จบแล้วนะ มาเจอกันใหม่ ฮุๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น