วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เคล็ดไม่ลับ Amplifer(แอมป์กีตาร์ 3)

        

Disappointed smileการแบ่ง class ของแอมป์


                          หวัดดีครับผม ในเรื่องการแบ่งคลาส(class)ของแอมป์นั้น จะแบ่งจากการ ไบอัสกระแสไฟให้กับทรานซิสเตอร์  ที่ทำหน้าที่ในวงจรขยายเสียง  ยกตัวอย่างเพียง 4ประเภทดังนี้

  Sun1. amplifier Class A  

พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เน้นในเรื่องของคุณภาพเสียง ค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย แต่มีข้อเสียในเรื่องของความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาก็ตาม  และกำลังขับที่ได้นั้นก็ค่อนข้างจะน้อย  แอมป์ประเภทนี้จึงเหมาะกับนักฟังที่เน้นรายละเอียดของเสียงกลาง-แหลม ไม่เน้นอัดตูมตาม

Sun2. amplifier Class B

เป็นการใช้ทรานซิสเตอร์ 2ตัว ทำงานแบบ Push-Pull หรือ ผลัก ดัน ช่วยกันทำงานคนละครึ่งทาง และจะไม่มีการป้อนกระแสไฟล่วงหน้า  ซึ่งมีข้อดีคือเครื่องไม่ร้อน แต่ข้อเสียกลับมากกว่าเพราะความผิดเพี้ยนสูงมาก  เสียงจึงไม่มีคุณภาพ  แต่ในปัจจุบันแอมป์ คลาสนี้คงจะไม่มีแล้ว

Sun3. amplifier Class AB

เป็นการรวมตัวกันของแอมป์ทั้ง 2คลาสที่กล่าวมา คือใช้ทรานซิสเตอร์ 2ตัว แต่จะมีการป้อนกระแสไฟปริมาณตํ่าๆเอาไว้ล่วงหน้าอยู่ตลอดแต่จะไม่มากเท่าคลาส A  และการจัดวงจรก็ใช้แบบ Push-Pull เหมือนคลาส B จึงทำให้พาวเวอร์แอมป์ประเภทนี้มีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี  ถึงแม้จะไม่เท่าคลาส A แต่ได้เปรียบในเรื่องของกำลังขับที่มากกว่า  และเกิดความร้อนน้อยกว่า  และคลาส AB นี้แหละเป็นแอมป์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และสามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงกลาง-แหลม หรือแม้แต่ซับวูเฟอร์ก็ได้



Light bulbข้อคิด**Light bulb

แอมป์แยก ซับ แยก กลางแหลม  พอตัวใดตัวหนึ่งพัง อีกตัวก็ยังฟังได้แนะนำให้แยกแอมป์ดีกว่าครับ
CLASS ของแอมพ์ ในอดีตมีอยู่ 3 CLASS คือ CLASS A , CLASS B และ CLASS AB
 แต่ปัจจุบันมี CLASS D , CLASS T , CLASS G , CLASS H และอื่นๆอีก


________________________________________

Sun4. amplifier Class D 

เป็นพาวเวอร์แอมป์กำลังขับสูง เน้นหนักในเรื่องพละกำลังเพียงอย่างเดียว แอมป์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับขับซับโดยเฉพาะ  เหมาะกับพวกที่ชอบฟังเพลงหนักๆ เน้นพลังเบส กระแทกแรงๆ ซึ่งคงไม่ใช่แนวผมครับ

Sun5. amplifier Class G 

 เป็นเครื่องขยายเสียงที่ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป และจะทำงานโดยภาคขยายเสียงจะปรับไปใช้ไฟเลี้ยงที่สูงขึ้นหากสัญญาณขาเข้ามี ความแรงมากขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีปัญหาในช่วงการเปลี่ยนจากภาคจ่ายไฟ ที่จะปรับใช้ในแต่ละความแรงของสัญญาณ

Sun6. amplifier Class H 

เคยมีใช้ในวงการรถยนต์ในยี่ห้อ BLADE ที่เรียกวงจรนี้ว่า BASH นั่นคือ การประยุกต์ CLASS G ขึ้นมาให้ภาคจ่ายไฟปรับแรงดันได้ตลอดเวลา ตามความแรงของสัญญาณที่เข้ามา ซึ่งภาคจ่ายไฟแบบนี้ คือ ต้นแบบของหลักการในภาคจ่ายไฟของ CLASS D แต่การจัดวงจรภาคขาออกจะเหมือนกับวงจรแบบ CLASS AB

Sun7. amplifier Class T

 เป็นการเรียกขานตามวงจรควบคุมการทำงานซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อลดจุดด้อยของ CLASS D ที่ไม่มีเสถียรภาพในความถี่สูงโดยใช้ความสามารถในเชิงดิจิตอลเข้ามาช่วย เพิ่มความถี่ของการทำงานแบบ switching ทำใหswitching ที่ความถี่สูงขึ้นถึงในระดับความถี่ประมาณ 85 KHz จากนั้นจึงใช้วงจรกรองความถี่ แบบ Low passที่ประมาณ 40 KHz ทำให้ได้เครื่องขยายเสียงแบบ CLASS D ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถึงความถี่ ที่สูงกว่า 20 KHz

Sun8. amplifier Class E

 Audiobahn ใช้เป็นชื่อเรียกในรุ่นของเครื่องขยายเสียง แต่การทำงานไม่ใช่ class E จริงๆ เครื่องขยายเสียง class E ทำงานโดยใช้หลักการ switching แบบอ่อน ๆ คือไม่ได้ใช้ลักษณะของ switching เป็นหลักในการขยายสัญญาณโดยจะปล่อยให้มีสัญญาณหรือกระแสต่ำ ๆ กระตุ้นการทำงานของภาคขาออกอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเพี้ยนที่เรียกว่า crossover distortion หรือ switching distortion ขณะเดียวกันถือได้ว่ามีการออกแบบวงจรจ่ายไฟที่ดีมาก ทำให้มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น