ชนิดและประเภท Amplifer
ว่าด้วยเรื่องแอมป์ๆต่อนะครับ ^^ประเภท แอมป์
มี 2 อย่าง คือคอมโบแอมป์
ก็คือแบบว่า หัวแอมป์มันรวมมากับลำโพง ถอดหัวแอมป์ออกไม่ได้แอมป์ สแตค
คือแอมป์ที่เอาหัวแอมป์ไปใช้ที่อื่นได้ หัวแอมป์ไม่ได้รวมติดกับลำโพง พวกแอมป์ ใหญ่ ๆ แพง ๆ อะ Marshall Mesa Boogie และอื่น ๆ ก็คือแอมป์ 100วัตอะ
ส่วนพรีแอมป์ ไม่ใช่แอมป์ พรีแปลว่าก่อน สรุป มันเป็นการตั้งค่าก่อนเข้าแอมป์ (มันเป็นพวกออปชั่นของ เอฟเฟค Multi หลาย ๆ รุ่น)
ชนิดของแอมป์ 3 แบบ
1.Solid - State
เป็นแอมป์พลิฟายด์ที่ทั้งภาคเพาเวอร์ และ ภาคปรีแอมป์ใช้ทรานซิสเตอร์ทั้งหมด วงจรล้วนๆ ทนทานนานปี เสียยาก และ ถ้าเป็นแอมป์
ประเภทที่มี ดิสทรอชั่นแชนแนล จะให้เสียงแตกแรงได้มากๆ
ข้อโดดเด่น
เรื่องประสิทธิภาพต่อพลังงานที่ป้อนเข้าไป แอมป์โซลิดสเตทกินขาด เสียงก็สด กระฉับกระเฉงกว่า ความยากในการผลิตก็ง่ายกว่า ขนาดเล็กกว่า น้ำหนักเบากว่า ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาถูกกว่าแอมป์โซลิดสเตท เป็นแอมป์ที่ให้ความเพี้ยนน้อยกว่าแอมป์หลอดมาก แต่ความเพี้ยนที่น้อย มันกลับไม่ใช่สิ่งที่ มือเบสหรือมือกีต้าร์ทั้งหลายต้องการ ความเพี้ยนในแอมป์หลอด คือ สเน่ห์ของมัน เสียงที่อู้นวล อ้วนหนา คือสเน่ห์อมตะของแอมป์หลอด ส่วนความเที่ยงตรงของแอมป์ซลิดสเตท กลับกลายเป็นความจัดจ้าน ขาดความนุ่มนวล ขาดความเป็นดนตรี
เช่นFender FM Series
2.Tube amp "แอมป์หลอด"
ฝรั่งเรียกว่า Tube Amp สำหรับ US และ Valve Amp สำหรับ UK เรียกกันแล้วแต่ชอบละกันเพราะมันมีความหมายเหมือนกันครับ ... ที่เรียกว่าแอมป์หลอด เนี่ย เพราะว่า
ทั้งภาคเพาเวอร์ และ ปรีแอมป์นั้นใช้หลอด (Tube/Valve)
ข้อโดดเด่น
แอมป์หลอดให้ความ "อุ่น" ส่วนคำว่า "ใส" ซึ่งก็คือเสียงที่ไม่มีเสียงแตกพร่าดังให้เราได้ยิน หากเป็นแอมป์หลอดแล้วถึงแม้ว่าเราจะเปิดแอมป์ไว้ในระดับต่ำกว่าจุดที่จะทำให้เกิดเสียงแตก แต่ในความเป็นจริงมันคือเสียงใสที่ถูก compress เอาไว้หรือยังมีซัสเทนอยู่ เสียงใสจากแอมป์หลอดจะมีแก้วเสียงที่มีความพร่าเจืออยู่เล็กน้อย คือจะไม่ใสกริ๊งเสียเลยทีเดียว เพราะไม่ว่าจะอย่างไรหลอดก็ยังคงมีความร้อนอยู่ ตรงนี้แหละคือสิ่งที่ผู้เล่นเรียกว่า "ความอุ่น" ของซาวน์ดแบบแอมป์หลอด แอมป์หลอดจะให้ซาวน์ดที่มีมวล มีความหนา มีมิติ และแอมป์ชนิดนี้สามารถสร้างระดับของเสียงโอเวอร์ไดรฟ์ที่ละเอียดอ่อน อย่างเช่นในช่วงหัวโน้ตหรือหัวคอร์ดที่คุณลงน้ำหนักมือดีดลงบนสาย จะพบว่าน้ำเสียงจะเสียงค่อยๆลดดีกรีความแตกลงแล้วค่อยๆเพิ่มความใสขึ้น จุดนี้เองที่เป็นเสน่ห์ของแอมป์หลอดที่มือกีตาร์ต่างหลงใหล เพราะเราสามารถมีทั้งเสียงซัสเทน และระดับเสียงแตกที่หลากหลายในช่วงที่โน้ตหรือคอร์ดถูกเล่นออกไป และที่สำคัญคือเป็นจุดแข็งที่แอมป์ทรานซิสเตอร์ยังไม่สามารถเลียนแบบได้
เสียงแตกโอเวอร์ไดรฟ์ของแอมป์หลอดจะมีความอุ่น มีซัสเทนยาว และมีความละมุนละไมหรือ smooth กว่า มีการตอบสนองต่อไดนามิกดีกว่า ซึ่งหากเปรียบกับแอมป์ทรานซิสเตอร์ที่หลายคนมักจะบอกว่าให้เสียงแตกที่ไม่ค่อยนุ่มนวล คือถ้าเป็นจุดที่เกิดเสียงใสก็จะให้น้ำเสียงที่ใสกริ๊งไปเลย แต่เมื่อถึงจุดที่เกิดเสียงแตกก็จแตกพร่าขึ้นมาแบบทันทีทันใด จะไม่เพิ่มดีกรีความแตกอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ตอบสนองต่อไดนามิกการเล่นได้ดีกว่า เช่นถ้าเราลงน้ำหนักการดีดหนักเบาตามอารมณ์การเล่นของเรา จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงแตกจากแอมป์หลอด จะเป็นไปอย่างนุ่มนวลกว่า คือเมื่อเราลงน้ำหนักดีดไปครั้งแรก เราจะได้ยินเสียงซัสเทนเปลี่ยนแปลงจากแตกมากแล้วค่อยๆเบาลงๆ แต่ขณะเดียวกันเสียงก็จะค่อยๆเพิ่มความใสขึ้นทีละน้อย จนกระทั่งเสียงจางหายไป
http://www.fender.in.th/
เช่น -Fender Pro Tube Series
- Marshall JCM Series/JVM/Vintage-Modern
3. Hybrid Amplifier
Hybrid ก็อธิบาย กันง่ายๆ ว่าเป็นแอมป์ลูกผสมโดยส่วนใหญ่ภาคเพาเวอร์จะเป็น Solid State
ภาคปรีแอมป์จะขับด้วยหลอด (Tube/Valve)
เช่น Marshall AVT Series
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น